ia

......หมวดเทคโนโลยีการสืบพันธุ์และผสมเทียม

หมวดเทคโนโลยีการสืบพันธุ์สัตว์เลี้ยงและสุขภาพสัตว์ ทำหน้าที่ให้บริการ งานการเรียนการสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการแก่สังคม และการฝึกงาน การทำปัญหาพิเศษของนักศึกษา วิทยานิพนธ์ ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมกันนี้ยังให้บริการด้าน การผสมเทียมและสุขภาพสัตว์ แก่หน่วยงานฟาร์มในสักัดภาควิชาสัตวศาสตร์ ดังนี้

จำนวนสัตว์ปัจจุบันและการให้บริการ (สำรวจเมื่อ31ม.ค. 50)

รายการ

การให้บริการ
(ปี 2549 – 2550)

เป้าหมาย
(ปี 2550 – 2555)

พ่อพันธุ์โค พันธุ์อเริกันบราห์มัน

2

2

พ่อพันธุ์โคพันธุ์โฮลสไตร์ฟรีเชียน

2

2

พ่อพันธุ์โคพันธุ์พื้นเมืองไทย

1(ใช้คุมฝูงอยู่หมวดผลิตสัตว์)

2

แม่โค (คัดทิ้ง) สำหรับฝึกงาน

4

10

สุกรเพศผู้สำหรับฝึกงาน

ขอใช้ในหมวดสุกร (ไม่พอ)

6

สุกรเพศเมียสำหรับฝึกงาน

ขอใช้ในหมวดสุกร(พอ)

ขอใช้ในหมวดสุกร

กระต่ายเพศผู้สำหรับฝึกงาน

ขอใช้ในหมวดกระต่าย (พอ)

ขอใช้ในหมวดกระต่าย

กระต่ายเพศเมียสำหรับฝึกงาน

ขอใช้ในหมวดกระต่าย (พอ)

ขอใช้ในหมวดกระต่าย

ไก่เพศผู้/เมียสำหับฝึกงาน

ขอใช้ในหมวดสัตว์ปีก (พอ)

ขอใช้ในหมวดสัตวืปีก

การให้บริการด้านเทคโนโลยีการสืบพันธุ์สัตว์ ฯ และสุขภาพทางระบบสืบพันธุ์ **

   

หมวดโคเนื้อ

-

-

หมวดโคนม

371 ครั้ง

ขึ้นอยู่กับการขอใช้บริการ

การบริการด้านสุขภาพสัตว์ ***

   

หมวดโคเนื้อ

240 ครั้ง

ขึ้นอยู่กับการขอใช้บริการ

หมวดโคนม

332 ครั้ง

ขึ้นอยู่กับการขอใช้บริการ

หมวดกระต่าย

16 ครั้ง

ขึ้นอยู่กับการขอใช้บริการ

หมวดผลิตสัตว์ผสมผสาน

18 ครั้ง

ขึ้นอยู่กับการขอใช้บริการ

** ได้แก่ การตรวจการเป็นสัด การกระตุ้นการเป็นสัด การผสมเทียม การตรวจการตั้งท้อง การช่วยคลอด การปลดรก การล้างมดลูก การให้ยารักษาโรคทางระบบสืบพันธุ์
*** ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด การให้ยาป้องกัน กำจัดพยาธิ การให้ยารักษาพยาบาลสัตว์เบื้องต้น

พื้นที่และอาคารปฏิบัติงาน

อาคารโรงเรือนทดลอง                          6 ไร่


ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

การฝึกงานนักศึกษาระดับปริญญาตรี

1. วิชาฝึกงานหน่วย 3 (117 283)

เป็นการฝึกงานด้านการผลิตผสมเทียมพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ทุกคน ทั้งสองภาคการศึกษา จำนวน 420 คน โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าฝึก โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้จักลักษณะของพ่อพันธุ์สัตว์ที่ดี สาธิตการรีดน้ำเชื้อ และการผสมเทียมในสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่ โคนม สุกร สัตว์ปีก และกระต่าย เป็นต้น

2. วิชาฝึกงานหน่วย 5 (117 385)

เป็นการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางการผสมเทียม สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ของภาควิชาสัตวศาสตร์จำนวน 75 คน โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้นได้แก่ การรีดน้ำเชื้อและการเจือจางน้ำเชื้อ การทำน้ำเชื้อแข่แข็ง การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อ การตรวจสัด การผสมเทียม และการคลำตรวจท้องในสัตว์ การจัดการดูแลสุขศาสตร์ด้านระบบสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

การปฏิบัติงานสนามในรายวิชาต่างๆ

1. กลุ่มรายวิชาที่ใช้พื้นที่ในการปฏิบัติงานจำนวน 3 รายวิชา

ได้แก่ 117 331 กายวิภาคศาสตร์สัตว์, 117 432 การสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง, 117 461 สุขศาสตร์สัตว์ เป็นการฝึกปฏิบัติการด้านการจัดการระบบสืบพันธุ์สัตว์ โดยเน้นการเปรียบเทียบระบบสืบพันธุ์ในเพศผู้และเพศเมีย การจัดการให้สัตว์มีความสมบูรณ์พันธุ์สูง ผสมติดง่าย การจัดการป้องกันโรคทางระบบสืบพันธุ์ เช่น รกค้าง แท้งติดต่อ การฝึกปฏิบัติด้านการรีดน้ำเชิ้อโคและสุกร การสาธิตการย้ายฝากตัวอ่อน เป็นต้น

2. วิชาโครงงานทางการเกษตรที่นักศึกษาใช้พื้นที่การทดลอง

หมวดผสมเทียมให้บริการด้านการศึกษาปัญหาพิเศษแก่นักศึกษาปริญญาตรี เน้นหัวข้อด้านการแก้ปัญหาระบบสืบพันธุ์ในโคเนื้อ โคนม สุกร และสัตว์ปีก ซึ่งมีประมาณ 4-6 เรื่องต่อปี

3. การทดลองสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา : วิทยานิพนธ์

นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 2 คน, ปริญญาเอก จำนวน 1 คน


ภารกิจด้านการวิจัย

การวิจัยด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำน้ำเชื้อแช่แข็ง การศึกษาอิทธิพลของอุณหภุมิและความชื้นที่มีผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อ และระบบสรีรวิทยาการปรับตัวอันเนื่องจากความเครียดเนื่องจากความร้อน การเร่งการตกไข่หลายใบและการย้ายฝากตัวอ่อนในโค การเจาะเก็บไข่จากรังไข่ด้วยเครื่อง laparoscope การแช่แข็งตัวอ่อน เป็นต้น


ภารกิจด้านงานบริการวิชาการ

การฝึกอบรมให้แก่กลุ่มเกษตรกร

หมวดเทคโนโลยีการสืบพันธุ์สัตว์มีการจัดอบรมให้แก่เกษตรกรด้านการผสมเทียมโค 1-3 รุ่นต่อปี และมีการอบรมด้านการทำน้ำเชื้อแช่แข็งในสัตว์ปีก 1-2 รุ่น ต่อปี แต่ละรุ่นมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 20-40 คน

การสาธิตเทคโนโลยีและกระบวนการต้นแบบ

หมวดเทคโนโลยีการสืบพันธุ์สัตว์มีการให้บริการตรวจสุขภาพระบบสืบพันธุ์ การตรวจท้อง และการแก้ปัญหาการผสมไม่ติดให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคกระบือที่อยู่รอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีนักศึกษาเป็นผู้ช่วย ซึ่งเป็นการเพิ่มทักษะและการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาภาควิชาสัตวศาสตร์อีกทางหนึ่ง โดยออกให้บริการในช่วงที่เป็นวันหยุด


แนวทางการพัฒนา

พัฒนาเป็นหน่วยฝึกอบรมและบริการสังคมด้านเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์ และการผลิตโคนม – โคเนื้อครบวงจร โดยมีสิ่งก่อสร้างเป็นอาคารเรียนรู้และฝึกอบรมครบวงจรด้านการผลิตโคเนื้อ-โคนม-การผสมเทียม-การบริการงานวิจัย-การจำหน่ายพันธุกรรมสัตว์ เช่น น้ำเชื้อ ตัวอ่อน และสัตว์พันธุ์ดีต่างๆ ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น


แผนที่หมวดเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ฯ

-


รายงานประจำปี

ดูรายละเอัียดภารกิจและการให้บริการจากรายงานประจำปี 2550 หมวดเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ฯ >> คลิ้กที่นี่


รายละเอียดการบริการด้านการเรียนการสอน

  • 2550
    1. ร่วมสอนวิชา 117 283 Practical work in Animal Science III หัวข้อเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ และสุขภาพสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวนประมาณ 180 คน ใช้เวลา 84 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ภาคการศึกษา รวมทั้งภาคต้นและภาคปลาย คิดเป็นจำนวนนักศึกษาต่อ 1 ปีการศึกษาประมาณ 360 คน
    2. ร่วมสอนวิชา 117 384 Practical work in Animal Science IV หัวข้อเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ ในสัตว์เล็ก และสัตว์ปีก ระดับงานเทคนิค สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 สาขาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 32 คน ใช้เวลา 96 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ภาคการศึกษา รวมทั้งภาคต้นและภาคปลาย คิดเป็นจำนวนนักศึกษาต่อ 1 ปีการศึกษาประมาณ  64 คน
    3. ร่วมสอนวิชา 117 385 Practical work in Animal Science V หัวข้อเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ และสุขภาพสัตว์เลี้ยงเบื้องต้นในสัตว์ใหญ่ ระดับงานเทคนิค สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 สาขาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 16 คน ใช้เวลา 90 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ภาคการศึกษา รวมทั้งภาคต้นและภาคปลาย คิดเป็นจำนวนนักศึกษาต่อ 1 ปีการศึกษาประมาณ  32 คน
    4. ร่วมประสานงาน และนิเทศการฝึกงาน วิชา 117 486 Practical work in Animal Science VI การฝึกงานทางสัตวศาสตร์ 6 (ฝึกงานนอกสถานที่) สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 สาขาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 80 คน ต่อ 1 ปีการศึกษา โดยแบ่งนักศึกออกเป็น 2 กลุ่ม ใช้เวลาในการฝึกงานกลุ่มละประมาณ 45 วัน ในระหว่างปิดเรียนภาคการศึกษาปลายของทุกปี (วันที่ 10 มีนาคม ถึง 31 พฤษภาคม) รวมทั้งสิ้นประมาณ 90 วัน ต่อ 1 ปีการศึกษา
    5. ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117 463 สุขศาสตร์สัตว์ สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ชั้นปีที่ 4 สาขาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 90 คน ใช้เวลา 94 ชั่วโมงการสอน (เฉพาะภาคการศึกษาต้น)
    6. ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117 431 การสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ชั้นปีที่ 4 สาขาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 25 คน ใช้เวลา 36 ชั่วโมงการสอน (เฉพาะภาคการศึกษาปลาย)
    7. วิชา 117 722 เทคโนโลยีชีวภาพการสืบพันธุ์สัตว์เลี้ยง
  • 2549
  • ร่วมสอน วิชา 117 283 Practical work in Animal Science III หัวข้อเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ และสุขภาพสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 จำนวนประมาณ 150 คน ใช้เวลา 84 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ภาคการศึกษา รวมทั้งภาคต้นและภาคปลาย คิดเป็นจำนวนนักศึกษาต่อ 1 ปีการศึกษา ประมาณ 300 คน ใช้เวลา 168 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ปีการศึกษา
  • ร่วมสอน วิชา 117 384  Practical work in Animal Science IV หัวข้อเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ในสัตว์เล็ก และสัตว์ปีก ระดับงานเทคนิค สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 32 คน ใช้เวลา 96 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ภาคการศึกษารวมทั้งภาคต้นและภาคปลาย คิดเป็นจำนวนนักศึกษาประมาณ 64 คน ต่อ 1 ปีการศึกษา ใช้เวลา 192 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ปีการศึกษา
  • ร่วมสอน วิชา 117 385 Practical work in Animal Science V หัวข้อเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ และสุขภาพสัตว์เบื้องต้นในสัตว์ใหญ่ ระดับงานเทคนิค สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 16 คน ใช้เวลา  90 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ภาคการศึกษา รวมทั้งภาคต้นและภาคปลาย คิดเป็นจำนวนนักศึกษาประมาณ 32 คน ต่อ 1 ปี การศึกษาใช้เวลา 180 ชั่วโมงการสอนต่อ 1 ปีการศึกษา
  • ร่วมประสานงาน และนิเทศการฝึกงาน วิชา 117486 Practical work in Animal Science VI การฝึกงานทางสัตวศาสตร์ 6 (ฝึกงานนอกสถานที่) สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 80 คน ต่อ 1 ปีการศึกษา โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ใช้เวลาในการฝึกงานกลุ่มละประมาณ 45 วัน ในระหว่างปิดเรียนภาคการศึกษาปลายของทุกปี (วันที่ 10 มีนาคม ถึง 31 พฤษภาคม) รวมทั้งสิ้นประมาณ 90 วัน ต่อ 1 ปีการศึกษา
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117463 สุขศาสตร์สัตว์ สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 90 คน ใช้เวลา 94 ชั่วโมงการสอน (เฉพาะภาคการศึกษาต้น)
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117431 การสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ จำนวนประมาณ 25 คน ใช้เวลา 36 ชั่วโมงการสอน (เฉพาะภาคการศึกษาปลาย)
  • วิชา 117722 เทคโนโลยีชีวภาพการสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง
  • บรรยายพิเศษสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 173201 พืช-สัตว์ สำหรับวิศวกร ภาคการศึกษาละ 6 ชั่วโมง
  • ในบริการในการฝึกปฏิบัติทางเทคนิคการผสมเทียม แก่นักศึกษาปริญญาโท/เอก ในการทำปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์ และวิชาต่างๆ ดังนี้ - 715 552 การปฏิบัติคลินิกทางวิทยาการสืบพันธุ์ 2 (นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์) - 715 541 สูติศาสตร์ทางสัตวแพทย์ (นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์) - 715 542 การผสมเทียมและเทคโนโลยีการสืบพันธุ์สัตว์(นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์)
  • 2548
  • ร่วมให้การฝึก วิชา 117 283 ฝึกงานหน่วย 3 จำนวน 96 ชม./เทอม/2 เทอม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 240 คน/ปี
  • ร่วมให้การฝึก วิชา 117 384 ฝึกงานหน่วย 4 จำนวน 96 ชม/เทอม/2 เทอม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 68 คน/ปี
  • ร่วมให้การฝึก วิชา 117 385 ฝึกงานหน่วย 5 จำนวน 96 ชม/เทอม/2 เทอม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน/ปี
  • ผู้ประสานงานวิชา 117 486 การฝึกงานหน่วย 6 นักศึกษาจำนวน 60 คน/ปี
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117 463 สุขศาสตร์สัตว์ จำนวน 192 ชม. นักศึกษาจำนวน 80 คน/ปี
  • ร่วมสอนบทปฏิบัติการ วิชา 117 431 การสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง จำนวน 36 ชม. นักศึกษาจำนวน 25 คน/ปี
  • ให้บริการในการฝึกปฏิบัติทางเทคนิคการผสมเทียม แก่นักศึกษาปริญญาโท/เอก ในการทำปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์ และวิชาต่างๆ ดังนี้ - 117 735 สรีระวิทยาการสืบพันธุ์ชั้นสูง - 117 754 เทคโนโลยีชีวะภาพการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ - 715 552 การปฏิบัติคลินิกทางวิทยาการสืบพันธุ์ 2 (นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์) - 715 541 สูติศาสตร์ทางสัตวแพทย์ (นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์) - 715 542 การผสมเทียมและเทคโนโลยีการสืบพันธุ์สัตว์(นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์)

รายละเอียดการบริการด้านงานวิจัย

  • 2550
  • วิทยานิพนธ์ เรื่อง การผลิตตัวอ่อนกระบือปลักภายนอกร่างกายที่ผ่านการแช่แข็งแบบวิททิฟิเคชั่น สำหรับนักศึกษาปริญญาเอก สาขาสัตวศาสตร์ ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. 51 – 31 ม.ค. 52
  • การใช้พันธุ์พืชสมุนไพรกำจัดพยาธิภายในทดแทนการใช้เวชภัณฑ์ยาถ่ายพยาธิโคเนื้อ
  • 2549
  • - การใช้พันธุ์พืชสมุนไพรกำจัดพยาธิภายในทดแทนการใช้เวชภัณฑ์ยาถ่ายพยาธิโคเนื้อ
 
  • 2548

รายละเีอียดการบริการด้านอื่นๆ

  • 2550
  • จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการสืบพันธุ์โค ปี 2548
  • จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการผสมพันธุ์โค ปี 2549
  • วิทยากร - การฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการสืบพันธุ์โค ปี 2548 - การฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการผสมพันธุ์โค ปี 2549
  • คณะกรรมการกิจการนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์
  • อาจารย์ที่ปรึกษา ชุมุมอาสาพัฒนาเกษตรฯ
  • อาจารย์ที่ปรึกษาสโมสรนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์
  • คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์
  • ผู้ดำเนินรายการวิทยุฯ ในรายการสารพรรณการเกษตร ของคณะเกษตรศาสตร์ ทางสถานีวิทยุ ม.ก. ขอนแก่น
  • 2549
  • คณะกรรมการกิจการนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์
  • อาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุมอาสาพัฒนาเกษตรฯ
  • อาจารย์ที่ปรึกษาสโมสรนักศึกษา คณะเกษตรศาสตร์
  • จัดการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการสืบพันธุ์โค ปี 2548
  • จัดการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการผสมพันธุ์โค ปี 2549
  • วิทยากร - การฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการสืบพันธุ์โค ปี 2548
  • การผึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการผสมพันธุ์โค ปี 2549
  • คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์
  • ผู้ดำเนินรายการวิทยุฯในรายการสารพรรณการเกษตร
  • วิทยากรฝึกอบรมเรื่อง เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์โคนมด้วยวิธีการผสมเทียมแก่ตัวแทนกลุ่มพัฒนาอาชีพโคนมบ้านซับไทร, กลุ่มผู้เลี้ยงโคนม สหกรณ์โคนมบุรีรัมย์, และกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมสหกรณ์โคนม อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
  • วิทยากร โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการผสมเทียมสัตว์เศรษฐกิจ
 
  • 2548
  • วิทยากรฝึกอบรมเรื่อง เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์โคนมด้วยวิธีการผสมเทียมแก่ตัวแทนกลุ่มพัฒนาอาชีพโคนมบ้านซับไทร, กลุ่มผู้เลี้ยงโคนม สหกรณ์โคนมบุรีรัมย์, และกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมสหกรณ์โคนม อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
  • วิทยากร โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการผสมเทียมสัตว์เศรษฐกิจ